Lecture บทที่7


บทที่7
การออกแบบเว็บไซต์
ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

1.เบราเซอร์ที่ใช้
-เบราเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ
โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร
รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว
- มีเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยม เช่น
               * Internet Explorer
               * Netscape Navigator
               * The World
               * Opera
               * Mozilla
               * Firefox
- การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกร่น
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
               * เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
2.ระบบปฏิบัติการ (Operating  System)
-ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงาน
ของเบราเซอร์มาก
โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกัน
ในเรื่องของชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ได้
ระดับความละเอียดของหน้าจอชุดสีของระบบ
และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ เป็นต้น
             *การแสดงผลของwindowsจะมีขนาดใหญ่กว่า Mac เล็กน้อย
              *ความสว่างของหน้าจอบนMacจะมากกว่า Windows และ Unix
3.ความละเอียดของหน้าจอ
-ขนาดของจอมอนิเตอร์มีหลายขนาด
เช่น 17",21" และอื่นๆ
-ความละเอียดของหน้าจอ(monitorresolution)มีหน่วยเป็น Pixel
              *ความละเอียด640x480หมายถึงหน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน
640พิเซล และตามแนวตั้ง 480พิกเซล
-ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นกับขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
              *EX:จอขนาด17"สามารถตั้งค่าความละเอียดได้ตั้งแต่ 640x480
จนถึง 1600x1200 เป็นต้น
4.จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
-มอนิเตอร์ที่สามารถแสดงสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ(videocard)
-จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอ(videomemory)ทีมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
-จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้นั้นขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่าbitdepthหรือcolordepthซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล
- ชุดสีสำหรับเว็บ(WebPalette)หมายถึงชุดสีจำนวน 216สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการWindows และ Mac
-ปัจจุบันWebPaletteมีความสำคัญลดน้อยลงเนื่องจากจอของผู้ใช้สามารถแสดงสีได้มากขึ้นแต่ในtoolต่างๆเช่น Dreamweaver ก็ยังเห็นชุดสีเหล่านี้ปรากฏอยู่
5.ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
-MS Sans Serif VS Microsoft Sans Serif
            *MSSansSerifเป็นฟอนต์แบบบิตแมพ(bitmapped font)ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซลโดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
            *Microsoft Sans fontเป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น(vectorfont)โดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียวแต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
- ตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic  Text)
ข้อดี
              *สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอนทั้งชนิดขนาดสี
              *ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นตัวอักษรได้เหมือนกันโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิดนั้นติดตั้งไว้ในเครื่อง
              *สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
ข้อเสีย
              *ใช้เวลาในการdownloadมากกว่า
              *ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
              *ข้อความที่เป็นกราฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วยsearch engine






บทที่ 8
เลือกใช้สีเว็บไซต์

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
       - สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสีซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
     - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ ตั้งแต่รูปภาพ ตัวอักษร สีพื้นหลัง การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
            - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
            - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
            - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
           -สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้เช่นข้อมูลใหม่หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          -ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆเช่นใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ   
การผสมสี(Color Mixing) มี2แบบ
1.การผสมแบบบวก(Additivemixing)
       จะเป็นรูปแบบการผสมของแสงไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ สามารถนำไปใช้ในสื่อใดๆที่ใช้แสงส่องออกมา เช่นจอโปรเจคเตอร์ทีวี
2.การผสมแบบลบ(Subtractive mixing)
     การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆสามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี
เช่น ภาพวาดของศิลปิน รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ความกลมกลืนของสี
        -  ความเป็นระเบียบของสีที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุลและความสวยงามในเวลาเดียวกัน
 การใช้สีที่จืดชืดเกินไปจะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อและไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้
 การใช้สีที่มากเกินไปก็จะดูวุ่นวายขาดระเบียบและอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
    -  เป้าหมายในเรื่องสีคือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายน่าสนใจ และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม
รูปแบบชุดสีพื้นฐาน(SimpleColorSchemes)
1. ชุดสีร้อน (WarmColorScheme) 
         ประกอบด้วยสีม่วง,น้ำเงิน,น้ำเงินอ่อน,ฟ้า,ฟ้าเงินแกมเขียวและสีเขียวโดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบายองค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพเรียบร้อย
2. ชุดสีแบบเดียว(MonochromaticColorScheme)
           เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียวแต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้มอ่อนในระดับต่างๆ และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวแต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะขาดความหลากหลายของสี
3. ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน(AnalogousColorScheme)
         ประกอบด้วยสี 2หรือ 3สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ สามารถเพิ่มเป็น4หรือ5สีได้แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
4.ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง(SplitComplementaryColorScheme)
          เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามและชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นแต่จะมีผลให้ความสดใสความสะดุดตา และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
5.ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง2ด้าน(DoubleSplitComplementaryColor Scheme)
         ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกันแต่สีตรงข้ามทั้ง2สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง2ด้านและชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้นแต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
6. ชุดสีเย็น(CoolColorScheme)
          เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็นให้บรรยากาศคล้ายทะเลรู้สึกเย็นสบาย
7.ชุดสีแบบสามเส้า(TriadicColorScheme)
        เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากันจึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
8. ชุดสีตรงข้าม(ComplementaryColorScheme)
      คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีเมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กันจะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น





บทที่ 
9

การออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์

ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ

                เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับพิกเซลตามความละเอียดของหน้าจอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย

ความละเอียดของรูปภาพ
                โดยปรกติแล้ว รูปภาพทุกรูปในเว็บไซท์ควรจะมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็ เพียงพอแล้ว เรื่องจากจอมอนิเตอร์องผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความละเอียดต่ำ (72 ppi) ดังนั้นแม้ว่ารูปภาพจะมีความละเอียดสูงกว่านี้เราก็ไม่อาจมองเห็นความแตกต่างได้

ปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ของกราฟิก
                แม้ว่ากราฟิกและรูปภาพต่างๆ จะช่วยสึความหมายและสร่างประโยชน์อีกหลายอย่าง เราควรรู้ถึงข้อเสียของกราฟิกเหล่านี้ไว้บ้าง โดยปรกติ แล้วข้อมูลในเว็บไซท์ประกอบด้วยไฟล์ HTML ที่เป็นตัวอักษร และกราฟิกหรือรูปภาพเป็นสิ่งสำคัญ กราฟิกใช้เวลาในการดาวน์โหลดมาก กว่าตัวอักษรหลายเท่า ดังนั้นกราฟิกขนาดใหญ่อาจใช้เวลาในการสแดงผลนานมาก เมื่อผู้ใช้ระบบการเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ทที่ค่อนข้างช้า

ลดขนาดไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บ (Optimizing Web Graphic)
                ปัญหาความเชื่องช้าของอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ออกแบบเว็บไซท์ต้องระมัดระวังในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเป็นอย่างมาก แนวทางง่ายๆ สำหรับผู้มีหน้าที่ออกแบบกราฟิกำหรับเว็บก็คือพยายามทำให้กราฟิกมีขนาดเล็กมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
               ใดๆ เลยย่อมไม่น่าสนใจ เพราะกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ และสร้างความบันเทิงต่อผู้ชม ดังนนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือการสร้างเว็บที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กราฟิกที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้ผู้ออกแบบต้องรู้จักที่จะสร้างความสมดุลระหว่างความสวยงามกับความเร็วในการแสดงผลเรื่องจากการสร้างเว็บโดยไม่มีรูปภาพกราฟิก

การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
         1. เบราเซอร์ที่ใช้ เบราเซอร์
         คือ โปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ สามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว เบราเซอร์ที่ได้รับความนิยม
เช่น Internet Explorer , Netscape NavigatorOpera , Mozilla , Firefox ปัจจุบัน
ได้มีองค์กรกลางได้ทำการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลาง คือ W3C
         2. ระบบปฏิบัติการ(Operating System) 
จะมีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มากแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ ที่ใช้ระดับความละเอียดของหน้าจอชุดสีระบบและชนิดของตัวอักษรที่
มาพร้อมกับระบบ
         3. ความละเอียดของหน้าจอ ความละเอียดx480 
หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 ความละเอียดของ
หน้าจอจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผล
         4. จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้ 
จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้นั้นขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depthหรือ color depthซึ่งก็คือ จำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล ชุดสีสำหรับเว็บ(Web Palette) หมายถึง ชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการWindows และ Mac
         5. ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
 จะแสดงฟอนต์ที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก็ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีฟอนต์เหล่านั้นติดตั้งอยู่ในเครื่อง
         - MS SansSerif เป็นฟอนต์แบบบิตเเมพ(bitmapped font)
         Microsoft Sans Serif เป็นฟอนต์แบบเวคเตอร์หรือลายเส้น(vector font)
           สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด

ข้อดี
     1. สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอนทั้งชนิด ขนาด สี
     2. สามารถมองเห็นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิดนั้นติดตั้งไว้ในเครื่อง
     3. สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
ข้อเสีย
     1. ใช้เวลาในการ Downlond มาก
     2. ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
     3. ข้อความเป็นกราฟฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วย search engine

         6. ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 
จะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลของเว็บ ความเร็วของอินเตอร์เน็ตมีหลายระดับ คือ - ผู้ใช้ตามบ้าน จะใช้ความเร็ว56 kbps
           ** หน่วยงานบางแห่ง จะใช้ความเร็วสูง เช่น ADSL , Cable modem ซึ่งมี
                ความเร็วตั้งแต่ 128 kbpsจนถึง 10 kbps
         7. ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
           ** ออกแบบเว็บเพจให้เปลี่ยนแปลงขนาดได้(Flexible Design)องค์
                ประกอบทั้งหมดจะมีการจัดเรียงตัวกันใหม่ ตามขนาดพื้นที่ใหม่
ข้อดี
     1.พื้นที่หน้าจอทั้งหมดถูกใช้อย่างเต็มที่
     2. เว็บเพจจะถูกจัดเรียงในรูปแบบที่เหมาะสมกับหน้าจอเสมอ
ข้อเสีย
     1.ไม่สามารถคาดการณ์รูปแบบที่จะปรากฏต่อสายตาผู้ชมได้
           ** ออกแบบเว็บเพจให้มีขนาดคงที่(Fixed Design) ผู้ที่ต้องการควบ
                คุมโครงสร้างของหน้าเว็บให้คงที่เสมอ
ข้อดี
     1. เว็บเพจจะปรากฏต่อสายตาผู้ใช้เป็นรูปแบบเดียวกันเสมอ
     2. สามารถควบคุมความยาวของตัวอักษรในบรรทัดได้ดี ทำให้ตัวอักษร
         ไม่ยาวเกินไป
ข้อเสีย
     1. ต้องอาศัย scroll bar ในการเลื่อนดูข้อมูล

          8. ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี
            ** สามารถปรับความสว่าง(Brightness) และความต่างของโทนสี
                 (Contrast) จากมอนิเตอร์ได้
            ** ต้องระวังไม่ให้หน้าเว็บมีโทนสีมืดหรือสว่างจนเกินไป และความ
                 เลือกใช้โทนสีที่ต่างกันพอสมควร
            ** ต้องหลีกเลี่ยงตัวหนังสือสีส้มบนพื้นแดง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น